มหาวิทยาลัยบาณาราฮินดูหรือ Banaras Hindu University ตั้งอยู่ที่เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ชาวภารตะ ถือว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย และใหญ่เป็นอันดับสามของโลก โดยมีพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,500 เอเคอร์ (3,750 ไร่) ถ้าวัดตามแนวกำแพงล้อมรอบมหาวิทยาลัยประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร และเป็นมหาวิทยาลัยที่ควบคุมการบริหารโดยรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมอินเดีย และวิชาการแขนงต่างๆ ทั่วอินเดีย และจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเดินทางมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
จุดเริ่มต้นของ Banaras Hindu University หรือเรียกสั้นๆ ว่า B.H.U. เกิดขึ้นในประกายความคิด หรือจินตนาการของมหาบุรุษท่านหนึ่ง นามว่า “ท่านบัณฑิตมะดัน โมฮัน มาลวิยะ” ท่านเกิดเมื่อ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1861 (พ.ศ.2404) ที่เมืองอัลลาฮาบาด (Allahabad อยู่ห่างจากพาราณสี 125 กิโลเมตร) ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวที่เคร่งครัดในศาสนามากครอบครัวหนึ่ง และถึงแม้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่สู้จะดีนัก แต่ท่านก็เป็นผู้ใคร่ในการศึกษาหาความรู้ จนกระทั่งสามารถเรียนจบในระดับปริญญาตรี ทางด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองอัลลาฮาบาด และหลังจากนั้นไม่นานท่านก็ตัดสินใจหันเหชีวิตเข้าสู่วงการการเมือง โดยเข้าร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ
อินเดียในสมัยนั้น ทั่วทุกหัวระแหงคุกรุ่นไปด้วยกลิ่นไอแห่งชาตินิยม ซึ่งนำโดยกลุ่มพรรคองเกรส ท่านมาลวิยะได้อุทิศตนเพื่องานอันยิ่งใหญ่นี้ และเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของความเป็นอินเดียให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนรุ่นใหม่ จากการได้ลงพื้นที่ ทำให้ท่านได้สัมผัสกับความจริงที่มีอยู่ในขณะนั้น และได้ประจักษ์ว่า เอกราชที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ที่การได้มาซึ่งเอกราชจากประเทศที่ปกครองอยู่เท่านั้น แต่หมายถึง การสามารถรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานับพันๆปีไว้ได้ การที่จะทำอย่างนี้ได้ จะต้องปลูกฝังจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ขึ้นมารองรับ เพื่อสร้างสังคมใหม่นั่นคือ จะต้องมีมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่านมาลวิยะนั้น จะต้องมีลักษณะเด่น 2 ประการคือ นำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกตะวันตกมาผนวกผสมผสานให้เข้ากับภูมิปัญญาของโลกตะวันออกคือไม่สุดโต่งตามแบบตะวันตกมากเกินไป และไม่ยึดติดกับความคิดเก่าๆ ของตนเองมากเกินไป ต้องรู้จักเลือกเอาสิ่งที่ดีๆ จากโลกทั้งสอง มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้
แนวความคิดของท่านมาละวิยะ เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เมื่อท่านได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ออกไปทั้งการพูดและการเขียน มหาชนตั้นแต่มหาราชจนกระทั่งถึงยาจก ขานรับแนวความคิดนี้เป็นจำนวนมาก และร่วมบริจาคเงินให้แก่ท่านตามกำลังศรัทธา
กล่าวกันว่า ขอทานท่านหนึ่งได้นำเงินที่ขอมาได้ตลอดวันนั้นไปมอบให้กับท่านด้วยความศรัทธาอย่างยิ่ง ตัวเอง(พร้อมทั้งครอบครัว) จะอดสักวันก็ไม่เป็นไร ท่านมาละวิยะจึงได้สมญานามใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งว่า “ขอทานของขอทาน”
เมื่อ ปี ค.ศ. 1900 ( พ.ศ.2443) ท่านมาละวิยะได้จัดประชุดระดมความคิดที่จะจัดสร้างมหาวิทยาลัยในฝันจากบรรดานักปราชญ์และท่านผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่เมืองอัลลาฮาบาด และได้การสนับสนุนอย่างแข่งขันจากมหาราชเมืองพาราณสี นามว่า “ประภู นารายณ์ ซิงห์” (Prabhu Narain Singh) และผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐอุตตรประเทศ คือท่านเซอร์ แอนโทนี่ แมคโดนัล ( Sir Antony Mcdonald) ดังนั้น สภากรรมการมหาวิทยาลัยฮินดูก็ได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น
เมื่อจะจัดสร้างจริงๆ สถานที่ที่เลือกก็คือ “เมืองพาราณสี”ในพื้นที่กว้างขวางถึง 3พัน กว่าไร่ สาเหตุที่เลือกเอาเมืองพาราณสี เพราะว่า ตัวเมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจ ของศาสนาฮินดูและคนฮินดูซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (ประมาณ 79%) และมหาวิทยาลัยที่จะจัดขึ้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมอินเดียโดยตรง
จนกระทั่งวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยลัยก็ได้จัดตั้งพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยขึ้น นั่นเป็นเครื่องหมายว่า Banaras Hindu University ได้เริ่มขึ้นในปีนั้นเอง ขณะที่กำลังดำเนินก่อสร้างอาคารต่างๆอยู่นั้น ส่วนหนึ่งก็ได้เปิดทำการเรียนการสอนขึ้น โดยนำเอา 3 วิทยาลัย (Colleges) มารวมเป็น B.H.U. คือ
จุดเริ่มต้นของ Banaras Hindu University หรือเรียกสั้นๆ ว่า B.H.U. เกิดขึ้นในประกายความคิด หรือจินตนาการของมหาบุรุษท่านหนึ่ง นามว่า “ท่านบัณฑิตมะดัน โมฮัน มาลวิยะ” ท่านเกิดเมื่อ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1861 (พ.ศ.2404) ที่เมืองอัลลาฮาบาด (Allahabad อยู่ห่างจากพาราณสี 125 กิโลเมตร) ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวที่เคร่งครัดในศาสนามากครอบครัวหนึ่ง และถึงแม้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่สู้จะดีนัก แต่ท่านก็เป็นผู้ใคร่ในการศึกษาหาความรู้ จนกระทั่งสามารถเรียนจบในระดับปริญญาตรี ทางด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองอัลลาฮาบาด และหลังจากนั้นไม่นานท่านก็ตัดสินใจหันเหชีวิตเข้าสู่วงการการเมือง โดยเข้าร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ
อินเดียในสมัยนั้น ทั่วทุกหัวระแหงคุกรุ่นไปด้วยกลิ่นไอแห่งชาตินิยม ซึ่งนำโดยกลุ่มพรรคองเกรส ท่านมาลวิยะได้อุทิศตนเพื่องานอันยิ่งใหญ่นี้ และเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของความเป็นอินเดียให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนรุ่นใหม่ จากการได้ลงพื้นที่ ทำให้ท่านได้สัมผัสกับความจริงที่มีอยู่ในขณะนั้น และได้ประจักษ์ว่า เอกราชที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ที่การได้มาซึ่งเอกราชจากประเทศที่ปกครองอยู่เท่านั้น แต่หมายถึง การสามารถรักษาประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานับพันๆปีไว้ได้ การที่จะทำอย่างนี้ได้ จะต้องปลูกฝังจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ขึ้นมารองรับ เพื่อสร้างสังคมใหม่นั่นคือ จะต้องมีมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
มหาวิทยาลัยในอุดมคติของท่านมาลวิยะนั้น จะต้องมีลักษณะเด่น 2 ประการคือ นำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกตะวันตกมาผนวกผสมผสานให้เข้ากับภูมิปัญญาของโลกตะวันออกคือไม่สุดโต่งตามแบบตะวันตกมากเกินไป และไม่ยึดติดกับความคิดเก่าๆ ของตนเองมากเกินไป ต้องรู้จักเลือกเอาสิ่งที่ดีๆ จากโลกทั้งสอง มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้
แนวความคิดของท่านมาละวิยะ เริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เมื่อท่านได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ออกไปทั้งการพูดและการเขียน มหาชนตั้นแต่มหาราชจนกระทั่งถึงยาจก ขานรับแนวความคิดนี้เป็นจำนวนมาก และร่วมบริจาคเงินให้แก่ท่านตามกำลังศรัทธา
กล่าวกันว่า ขอทานท่านหนึ่งได้นำเงินที่ขอมาได้ตลอดวันนั้นไปมอบให้กับท่านด้วยความศรัทธาอย่างยิ่ง ตัวเอง(พร้อมทั้งครอบครัว) จะอดสักวันก็ไม่เป็นไร ท่านมาละวิยะจึงได้สมญานามใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งว่า “ขอทานของขอทาน”
เมื่อ ปี ค.ศ. 1900 ( พ.ศ.2443) ท่านมาละวิยะได้จัดประชุดระดมความคิดที่จะจัดสร้างมหาวิทยาลัยในฝันจากบรรดานักปราชญ์และท่านผู้มีชื่อเสียงทั้งหลาย ที่เมืองอัลลาฮาบาด และได้การสนับสนุนอย่างแข่งขันจากมหาราชเมืองพาราณสี นามว่า “ประภู นารายณ์ ซิงห์” (Prabhu Narain Singh) และผู้สำเร็จราชการแห่งรัฐอุตตรประเทศ คือท่านเซอร์ แอนโทนี่ แมคโดนัล ( Sir Antony Mcdonald) ดังนั้น สภากรรมการมหาวิทยาลัยฮินดูก็ได้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น
เมื่อจะจัดสร้างจริงๆ สถานที่ที่เลือกก็คือ “เมืองพาราณสี”ในพื้นที่กว้างขวางถึง 3พัน กว่าไร่ สาเหตุที่เลือกเอาเมืองพาราณสี เพราะว่า ตัวเมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจ ของศาสนาฮินดูและคนฮินดูซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (ประมาณ 79%) และมหาวิทยาลัยที่จะจัดขึ้นก็มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมอินเดียโดยตรง
จนกระทั่งวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1916 (พ.ศ.2459) คณะกรรมการจัดตั้งมหาวิทยลัยก็ได้จัดตั้งพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยขึ้น นั่นเป็นเครื่องหมายว่า Banaras Hindu University ได้เริ่มขึ้นในปีนั้นเอง ขณะที่กำลังดำเนินก่อสร้างอาคารต่างๆอยู่นั้น ส่วนหนึ่งก็ได้เปิดทำการเรียนการสอนขึ้น โดยนำเอา 3 วิทยาลัย (Colleges) มารวมเป็น B.H.U. คือ
- Centran Hindu College
- Centren Hindu Boys’ School
- Rannir Sanskit Palhshala
และคณะที่เปิดสอนเปิดเรียนในตอนเริ่มต้นมี 5 คณะคือ
- ตะวันออก ศึกษา ( Oriental Learning)
- เทววิทยา ( Theology)
- ศิลปศาสตร์ (Arts)
- วิทยาศาสตร์ ( Science) และ
- กฎหมาย ( Law )
ครั้งแรกเปิดการเรียนการสอนที่ Kamachcha เป็นการชั่วคราวก่อน หลังจากที่สร้างอาคารเรียน
ต่างๆเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ทยอยย้ายกันเข้ามาเปิดเรียนภายในตัวมหาวิทยาลัยทั้งหมด
จากเริ่มแรก 5 คณะ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดคณะต่างๆ ให้นักศึกษาได้เลือกเรียนถึง 3 สถาบัน 14 คณะ
และแยกเป็นภาควิชาสาขาต่างๆ อีก 114 สาขา มีนักศึกษามาจากทั่วทุกภาคทุกรัฐของอินเดีย และจากหลายประเทศทั่วโลกได้มาอยู่เป็นจำนวนมาก (ประมาณ 20,000 คน) คณาจารย์ 1,700 ท่าน และพนักงานเจ้าหน้าที่ทำงานแผนกต่างๆรวมทั้งคนงาน ( non– teaching ) อีกประมาณ 5,000 คน
จากนั้น ค.ศ. 1916 (พ.ศ.2459) จนถึงทุกวันนี้ ค.ศ. 1999 (พ.ศ.2542) นับเป็นเวลา 83 ปีพอดีที่มหาวิทยาลัยได้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกมา เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่อุดมไปด้วยผล ให้บรรดาหมู่วิหคน้อยใหญ่ ได้เข้ามาอาศัยและเสวยภักษาผลอย่างอิ่มหน่ำสำราญ
ลักษณะที่โดดเด่นประการหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู (B.H.U.) ที่กล่าวขานกันโดยทั่วไปก็คือเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดหอพักภายในมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาอยู่อาศัยได้มากที่สุดและใหญ่ที่สุด ในเอเชีย คือมีหอพักนักศึกษามากกว่า 50 หอพัก นักศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งสามารถอาศัยอยู่ในหอพัก ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้
ด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยได้จัดดำเนินตามปณิธานของท่านผู้ก่อตั้ง คือท่านบัณฑิตมะดัน โมฮัน มาลวิยะ ในการศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาของอินเดีย เช่น ศาสนา ปรัชญา จักรวาลวิทยา อายุรเวท เป็นต้น ถือว่า B.H.U. เป็นแหล่งที่ดีที่สุด แม้แต่ในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีของที่นี่ก็เป็น 1 ใน 4 ของสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในอินเดีย
B.H.U. เป็น1 ใน 12 มหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนต่างๆจากรัฐบาลกลางอย่างเพียงพอ ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งๆที่เก็บค่าเล่าเรียน ค่าพักในอัตราที่ค่อนข้างถูกมาก หากเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ
เมื่อมองย้อนหลังกลับไป 83 ปีที่แล้ว B.H.U. เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น แต่มาบัดนี้ B.H.U. มีทุกสิ่งทุกอย่างที่เพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ พร้อมที่จะสนองความต้องการของท่านผู้ใคร่ต่อการศึกษาทั้งหลายที่มาจากทั่วทุกมุมโลก มหาวิทยาลัย บาณารัสฮินดู ที่เราท่านได้เห็นได้สัมผัสอยู่นี้ เกิดขึ้นจากความฝัน จากความมุ่งมั่นที่จะกระเทาะเปลือกแห่งอวิชชาให้ออกจากจากใจของผู้โง่เขลาทั้งหลาย และแรงบันดาลใจของมหาบุรุษนามว่า “ ท่านบัณฑิต มะดัน โมฮัน มาลวิยะ”
ต่างๆเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ทยอยย้ายกันเข้ามาเปิดเรียนภายในตัวมหาวิทยาลัยทั้งหมด
จากเริ่มแรก 5 คณะ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดคณะต่างๆ ให้นักศึกษาได้เลือกเรียนถึง 3 สถาบัน 14 คณะ
และแยกเป็นภาควิชาสาขาต่างๆ อีก 114 สาขา มีนักศึกษามาจากทั่วทุกภาคทุกรัฐของอินเดีย และจากหลายประเทศทั่วโลกได้มาอยู่เป็นจำนวนมาก (ประมาณ 20,000 คน) คณาจารย์ 1,700 ท่าน และพนักงานเจ้าหน้าที่ทำงานแผนกต่างๆรวมทั้งคนงาน ( non– teaching ) อีกประมาณ 5,000 คน
จากนั้น ค.ศ. 1916 (พ.ศ.2459) จนถึงทุกวันนี้ ค.ศ. 1999 (พ.ศ.2542) นับเป็นเวลา 83 ปีพอดีที่มหาวิทยาลัยได้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกมา เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่อุดมไปด้วยผล ให้บรรดาหมู่วิหคน้อยใหญ่ ได้เข้ามาอาศัยและเสวยภักษาผลอย่างอิ่มหน่ำสำราญ
ลักษณะที่โดดเด่นประการหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยบาณารัส ฮินดู (B.H.U.) ที่กล่าวขานกันโดยทั่วไปก็คือเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดหอพักภายในมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาอยู่อาศัยได้มากที่สุดและใหญ่ที่สุด ในเอเชีย คือมีหอพักนักศึกษามากกว่า 50 หอพัก นักศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งสามารถอาศัยอยู่ในหอพัก ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้
ด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยได้จัดดำเนินตามปณิธานของท่านผู้ก่อตั้ง คือท่านบัณฑิตมะดัน โมฮัน มาลวิยะ ในการศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาของอินเดีย เช่น ศาสนา ปรัชญา จักรวาลวิทยา อายุรเวท เป็นต้น ถือว่า B.H.U. เป็นแหล่งที่ดีที่สุด แม้แต่ในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีของที่นี่ก็เป็น 1 ใน 4 ของสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในอินเดีย
B.H.U. เป็น1 ใน 12 มหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลกลาง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนต่างๆจากรัฐบาลกลางอย่างเพียงพอ ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งๆที่เก็บค่าเล่าเรียน ค่าพักในอัตราที่ค่อนข้างถูกมาก หากเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ
เมื่อมองย้อนหลังกลับไป 83 ปีที่แล้ว B.H.U. เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น แต่มาบัดนี้ B.H.U. มีทุกสิ่งทุกอย่างที่เพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ พร้อมที่จะสนองความต้องการของท่านผู้ใคร่ต่อการศึกษาทั้งหลายที่มาจากทั่วทุกมุมโลก มหาวิทยาลัย บาณารัสฮินดู ที่เราท่านได้เห็นได้สัมผัสอยู่นี้ เกิดขึ้นจากความฝัน จากความมุ่งมั่นที่จะกระเทาะเปลือกแห่งอวิชชาให้ออกจากจากใจของผู้โง่เขลาทั้งหลาย และแรงบันดาลใจของมหาบุรุษนามว่า “ ท่านบัณฑิต มะดัน โมฮัน มาลวิยะ”
3 ความคิดเห็น:
ดีครับ เก่งมาก
ถ้าไปจิงๆ สัญญานะว่าจะพาเที่ยวให้ทั่วมหาลัยเลย
เอารูปบรรยากาศห้องเรียน หอพัก แล้วก็สถานที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมาให้ดูหน่อยนะ อยากเห็นจ้า
แสดงความคิดเห็น